NaNaPaint.com
รวมทุกเรื่อง นานา ทาสี by Siam Painter Co., Ltd. | โฆษณา
Home | เคล็ดไม่ลับการทาสีบ้าน | ปัญหาทาสีบ้านเก่า | ทาสีบ้านกับฮวงจุ้ย | ทาสีบ้านกับราศีเกิด | ทาสีบ้านกับปัญหาน้ำซึม | ปัญหางานปูน | น่ารู้ จิปาถะ | ติดต่อเรา
  สั่งพิมพ์หน้านี้  
โฆษณาผลิตภัณฑ์งานสี รับเหมาทาสี ทาสีบ้าน Click
 MRThaiPaint.com : สี toa สีราคาถูก สีทีโอเอ
ร้านขายสี ขายสี ร้านสี สีทาบ้าน 
PaintandBuild.com : ทาสีบ้าน ทาสีห้องคอนโด  painting service bangkok   เช็คราคาทาสีบ้าน โทร. 02-300-5118
SiamPainter.com : รับเหมาทาสี  ทาสีตึก   ทาสีหอพัก   ทาสีอาคารสูง   ทาสีโรงแรม  ทาสีโรยตัว   ช่างทาสี  ช่างสี 
 
ปัญหางานปูน
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การซ่อมแซมเสาปูนที่แตกร้าว
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การแตกร้าวของปูนฉาบและ รอยแตกร้าวทั่วไป
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การบำรุงรักษาพื้นผิวกระเบื้อง
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การป้องกันเชื้อราสำหรับงานหินล้าง-ทรายล้าง
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การแก้ปัญหา ท่อน้ำใต้บ้านรั่ว
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  แก้ปัญหาราดำ บริเวณร่องยาแนวของกระเบื้อง
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  ปัญหาการแตกร้าวของปูนฉาบ
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  วิธีซ่อมผนังยิบซั่ม
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  ปัญหารอยร้าวที่คานคอนกรีต


 ปัญหารอยร้าวที่คานคอนกรีต
 
รอยร้าวที่คานคอนกรีต หมายถึงรอยร้าวที่เกิดขึ้นในเนื้อคอนกรีตจริง ๆ ไม่ใช่รอย ร้าวที่ผิวฉาบปูน เพราะปกติที่ผิวหน้าของคาน และเสาจะมีปูนทรายฉาบพอกอยู่ ซึ่งมีความ หนาตั้งแต่ประมาณ ครึ่งเซนติเมตร ถึง 2 หรือ 3 เซนติเมตร ปูนทรายฉาบนั้นเพื่อกลบแต่งผิว คอนกรีตให้เนียนเรียบสวย ฉะนั้นปูนทรายจึงมีความแข็งแรงไม่มากนัก และอาจเกิดการแตก ร้าวหรือหลุดร่อนออกจาก เนื้อคอน กรีตได้หลังจากการใช้งานหรือโดนความร้อนสลับกับความ เย็นหลาย ๆ ปี

ฉะนั้นถ้าพบรอยร้าวในคานและเสาก็อย่าเพิ่งตกใจ ขอให้สกัดชั้นปูนทรายเพื่อลอกออกมาให้ เห็นเนื้อ คอนกรีตจริง ๆ เสียก่อน แล้วจึงดูอีกครั้งว่า รอยร้าวนั้นมีอยู่ในเนื้อคอนกรีตจริงหรือไม่

นอกจากนี้ขนาดของรอยร้าวจะต้องมีขนาดรอยแยกกว้างกว่า 0.5 มิลลิเมตร หรือสามารถ สอดไส้ดินสอ กดขนาด 0.5 เข้าไปในรอยแยกได้ ส่วนลักษณะและความยาวของรอยร้าวจะ เป็นไปตามชนิดของ รอยร้าว

รอยร้าวในคานที่ปรากฏให้เห็นจะมีรูปร่างได้ต่าง ๆ นา ๆ สามารถแบ่งตามสาเหตุหลักของการ แตกร้าวได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. รอยร้าวในคานเนื่องจากคานไม่สามารถรับแรงได้ รอยร้าวนี้อาจเกิดเนื่องจาก มีน้ำหนักบรรทุก หรือมีแรงเกิดขึ้นมากกว่าความสามารถในการรับแรงของคาน การแตกร้าว ของคานประเภทนี้ อาจทำให้ เกิดการวิบัติพังทลายของโครงสร้างได้ ซึ่งจำแนกไปตามสาเหตุ ได้ดังนี้

1.1 รอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัวต่างระดับของเสาหรือฐานราก หากเสาหรือฐานราก ของบ้านมีการ ทรุดตัวเท่ากัน ในลักษณะค่อย ๆ จมลงไปในแนวดิ่ง คานอาจจะไม่เกิดรอยร้าว ให้เห็นเลย แต่ถ้าหาก ฐานรากหรือเสามีการทรุดตัวไม่เท่ากัน หรือจมแบบเรือไททานิก กล่าว คือ จมไปทางด้านใดด้านหนึ่ง มากกว่า จะทำให้เกิดแรงดัดในคานมากกว่าที่วิศวกรออกแบบไว้ คานจึงเกิดรอยร้าวได้ รอยร้าวที่ เกิดขึ้นจะมีลักษณะรอยร้าวในแนวดิ่ง หรืออาจเฉียงทำมุม เอียงเล็กน้อย (ทำมุมกับแนวดิ่งไม่เกิน 45 องศา) ในบริเวณที่คานยึดกับเสา

1.2 รอยร้าวเนื่องจากแรงดัดที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกิน กรณีที่คานต้องรับน้ำหนัก บรรทุกเกินกว่า ความสามารถของมัน คานอาจจะเกิดการแอ่นตัวอย่างมากจนทำให้เกิดรอย ร้าวที่บริเวณกึ่งกลางของคาน รอยร้าวประเภทนี้จะเริ่มจากการเกิดรอยร้าวบริเวณผิวด้านล่าง ของคาน แล้วค่อย ๆ ขยายวิ่งสูงขึ้นไป ในแนวดิ่ง แต่มักจะสูงขึ้นไปไม่เกินครึ่งหนึ่งของความ ลึกของคาน ขณะเดียวกันบริเวณ ซึ่งคานติดกับ เสา ก็จะเกิดรอยร้าวที่ผิวด้านบนของ คานหรือพื้น แล้วค่อย ๆ ขยายตัววิ่งลงมาในแนวดิ่ง และในทำนอง เดียวกันรอยร้าวมักจะ ยาวลงมาไม่เกินครึ่งหนึ่งของความลึกของคาน รอยร้าวบริเวณกึ่งกลางคานมักจะ สังเกตเห็น ได้ง่ายกว่ารอยร้าวบริเวณซึ่งคานติดกับเสา เพราะผิวคานด้านล่างมักอยู่ในตำแหน่งที่ มองเห็น ง่าย ขณะที่ผิวด้านบนของคานหรือพื้นอาจจะมีวัสดุปูผิว เช่น กระเบื้องยาง ปาร์เก้ หรือพรม ปูทับอยู่ ทำให้มองไม่ค่อยเห็นรอยร้าว

สำหรับกรณีที่คานเป็นคานยื่น กล่าวคือ คานซึ่งไม่มีเสารองรับที่ปลาย อาทิ คานยื่นของ ระเบียง คานยื่น ที่รับน้ำหนักบรรทุกเกิน จะเกิดการแอ่นตัวอย่างมาก จนเกิดรอยร้าวในแนว ดิ่งบริเวณใกล้รอยต่อ ระหว่างคานกับเสา รอยร้าวจะเริ่มจากผิวบนของคานแล้วขยายไล่ลงมา ไม่เกินครึ่งหนึ่งของ ความลึกของคาน

1.3 รอยร้าวเนื่องจากแรงเฉือนที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกิน กรณีที่คานรับน้ำหนัก บรรทุกเกินนอก จากจะเกิดรอยร้าวเนื่องจากแรงดัด ดังหัวข้อข้างต้นแล้ว อาจเกิดรอยร้าว เนื่องจากแรงเฉือนก็ได้ แรงเฉือนนั้นแตกต่างกับแรงดัด โดยที่แรงดัดอาจเปรียบเทียบได้กับ ลักษณะการหักตะเกียบ โดยใช้มือ ทั้งสองข้างของเรา ก่อนตะเกียบจะหักเราจะเห็นได้ชัดเจน ว่าตะเกียบเกิดการแอ่นโค้งตัวอย่างมาก ส่วนแรงเฉือนเปรียบเทียบคล้ายกับการใช้มีดหั่นหัวไช เท้าทำให้ขาดจากกัน หรืออาจเปรียบเทียบ ตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ว่า ถ้าเราจะแบ่งขนมปัง กรอบ (Cracker) หรือ คุกกี้ ให้เป็นสองส่วน เราจะสามารถ แบ่งได้โดยวิธีที่หนึ่ง ใช้มือดัดแผ่น ขนมปังให้โค้งจนกระทั่งขนมปังหักครึ่ง หรือวิธีที่สองใช้มือดันขนาน กันเพื่อให้ขนมปังขาดจาก กัน โดยไม่เกิดการดัดโค้งเลยก็ได้ จะเห็นได้ว่าวิธีที่สองเป็นการ หักโดยแรง เฉือน จะยากกว่า วิธีแรกซึ่งเป็นการหักโดยแรงดัด ฉะนั้นการแตกร้าวของคานเนื่องจากแรงเฉือน จึงเกิดขึ้นได้ ยากกว่ารอยร้าวเนื่องจากแรงดัด และไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก รอยร้าวที่เกิดจากแรงเฉือน มักเกิด บริเวณใกล้รอยต่อคานกับเสา และรอยร้าวจะทำมุมประมาณ 45 องศากับแนวดิ่ง และยาวตลอด ความลึกของคาน ตั้งแต่ผิวบนของคานจรดผิวล่างคาน

1.4 รอยร้าวเนื่องจากแรงบิด รอยร้าวชนิดนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นให้พบเห็น หากเกิดจะทำ ให้เกิดรอยร้าว เอียงๆ ทำมุม 45 องศา กับแนวดิ่ง คล้าย ๆ กับรอยร้าวเนื่องจากแรงเฉือน แต่ จะมีข้อแตกต่างที่รอยร้าว เนื่องจากแรงเฉือนส่วนมากจะมีเพียง 1 รอย (หรืออย่างมากที่สุด เพียง 2-3 รอย ขนานกัน) แต่รอยร้าว จากแรงบิดจะทำให้เกิดรอยร้าวเส้นเล็ก ๆ จำนวนมาก วิ่งขนานกันไป และอาจเกิดขึ้นบริเวณกึ่งกลาง คานก็ได้ แล้วแต่ว่าจะมีแรงบิดมากใน บริเวณใด

2 รอยร้าวในคานเนื่องจากคุณภาพการก่อสร้างหรือการกัดกร่อน คุณภาพการก่อสร้าง ที่ไม่ดีอาจจะทำให้ อายุโครงสร้างสั้นลง และเกิดรอยร้าวได้หลากหลาย ประเภท แต่โครงสร้างมักจะไม่พังทลาย หรือวิบัติ ในเวลาอันรวดเร็ว อาจใช้เวลาหลายปีกว่า จะเกิดความเสียหายอย่างแท้จริง รอยร้าวประเภทนี้มัก พบในอาคาร ซึ่งควบคุมการก่อสร้าง ไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารในบริเวณแถบชายฝั่งทะเลจะพบ มากขึ้น อันเนื่องจากไอน้ำ เค็มจากทะเล จะทำให้คอนกรีตเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น และเหล็กก็เป็นสนิม เร็วขึ้นเช่นกัน

2.1 รอยร้าวเนื่องจากเหล็กเสริมเป็นสนิม กรณีที่เหล็กเสริมในคานมีคอนกรีตหุ้มไว้ หนาไม่เพียงพอ หรือคอนกรีตเป็นรูโพรง เหล็กเสริมในคานจะค่อย ๆ เกิดสนิม อันเนื่องจาก ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ สนิมเหล็กจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนดันให้ คอนกรีตแตกร้าวได้ รอยร้าวที่มักพบจะเป็นรอยร้าวในแนวราบยาวไปตามคาน ตาม ตำแหน่งของเหล็กเสริม รอยร้าวที่พบเห็นก่อนมักเป็นรอยร้าวบริเวณใต้คาน หรือขอบด้านล่าง ของคาน

2.2 รอยร้าวเนื่องจากคอนกรีตคุณภาพต่ำ คอนกรีตที่มีคุณภาพต่ำ มีกำลังอัดหรือ ความแข็งแรงต่ำ อาจทำให้เกิดรอยร้าวในคานได้หลากหลายไม่แน่นอน แต่ที่พบมากจะเป็น ประเภทคอนกรีตแตกร้าว หรือหลุดร่อนจากคานเป็นก้อน ๆ เป็นจุด ๆ ไม่แน่นอน ตามแต่ว่า บริเวณใดจะมีคุณภาพต่ำกว่า การตรวจสอบรอยร้าวที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการตรวจสอบ เบื้องต้นด้วยสายตา หากพบว่าคานมีรอยร้าว ที่มีลักษณะดังอธิบายข้างต้น ควรใช้ดินสอทำ เครื่องหมายและเขียนวันที่กำกับไว้ที่จุดเริ่มต้นและจุด สิ้นสุดของรอยร้าว และตรวจทุกสัปดาห์ ว่ารอยร้าวมีความยาวเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้ามีก็ทำเครื่องหมาย พร้อมกับเขียนวันที่กำกับทุกครั้ง หากพบว่ารอยร้าวมีขนาดและจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราก้าวหน้า (มากขึ้น หรือยาวขึ้นกว่าสัปดาห์ ก่อน) โดยไม่มีอาการว่ารอยร้าวจะหยุด ควรหาวิศวกรโยธาเพื่อให้ ตรวจสอบ ความมั่นคงแข็ง แรง ซึ่งวิศวกรจะมีวิธีการและอุปกรณ์เครื่องมือ ที่สามารถวัดได้ละเอียดยิ่งขึ้น อันจะทำ ให้ สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้
 
รับเหมาทาสี ทาสีบ้าน ทาสี ช่างทาสี ทุกเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสี
 
 
 
ข้อมูลในเว็บไซต์ไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์ สามารถ link เข้ามา หรือนำไปเผยแพร่ได้  
Copyright @2010-2020 nanapaint.com. All rights reserved
by Siam Painter Co., Ltd. Tel. 02-300-5118 LineID: @siampainter