NaNaPaint.com
รวมทุกเรื่อง นานา ทาสี by Siam Painter Co., Ltd. | โฆษณา
Home | เคล็ดไม่ลับการทาสีบ้าน | ปัญหาทาสีบ้านเก่า | ทาสีบ้านกับฮวงจุ้ย | ทาสีบ้านกับราศีเกิด | ทาสีบ้านกับปัญหาน้ำซึม | ปัญหางานปูน | น่ารู้ จิปาถะ | ติดต่อเรา
  สั่งพิมพ์หน้านี้  
โฆษณาผลิตภัณฑ์งานสี รับเหมาทาสี ทาสีบ้าน Click
 MRThaiPaint.com : สี toa สีราคาถูก สีทีโอเอ
ร้านขายสี ขายสี ร้านสี สีทาบ้าน 
PaintandBuild.com : ทาสีบ้าน ทาสีห้องคอนโด  painting service bangkok   เช็คราคาทาสีบ้าน โทร. 02-300-5118
SiamPainter.com : รับเหมาทาสี  ทาสีตึก   ทาสีหอพัก   ทาสีอาคารสูง   ทาสีโรงแรม  ทาสีโรยตัว   ช่างทาสี  ช่างสี 
 
ปัญหางานปูน
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การซ่อมแซมเสาปูนที่แตกร้าว
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การแตกร้าวของปูนฉาบและ รอยแตกร้าวทั่วไป
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การบำรุงรักษาพื้นผิวกระเบื้อง
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การป้องกันเชื้อราสำหรับงานหินล้าง-ทรายล้าง
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  การแก้ปัญหา ท่อน้ำใต้บ้านรั่ว
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  แก้ปัญหาราดำ บริเวณร่องยาแนวของกระเบื้อง
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  ปัญหาการแตกร้าวของปูนฉาบ
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  วิธีซ่อมผนังยิบซั่ม
นานา สรรพัน ปัญหา ทาสี ช่างทาสี รับเหมาทาสี  ปัญหารอยร้าวที่คานคอนกรีต


 การแตกร้าวของปูนฉาบและ รอยแตกร้าวทั่วไป
 

"การดูรอยแตกร้าวในอาคารนั้น ต้องดูให้ออกว่าเป็นรอยแตกร้าว เนื่องจากแรงในโครงสร้าง หรือปูนฉาบ ถ้าเป็นรอยแตกร้าว เนื่องจากแรงในโครงสร้าง รอยแตกจะมีลักษณะกว้าง และเดินอย่าง มีทิศทางแต่สำหรับปูนฉาบรอยแ ตกร้าวจะไม่ค่อยมีทิศทาง"

ลักษณะรอยแตกร้าวของปูนฉาบมีดังนี้

1.รอยแตกร้าวแบบเป็นลายงาเป็นรอยแตกที่ผิดปูนฉาบเห็นเป็นเส้นเล็กๆ เดินอย่างไม่มีทิศทาง
สาเหตุ
เนื่องจากปูนฉาบที่ผนังยังไม่แห้งตัวแล้วไปตีน้ำ (สลัดน้ำบนผิวปูนฉาบ) ทำให้มีน้ำในปูนฉาบมากขึ้น เมื่อปูนฉาบแห้งตัว จะเกิดการหดตัวและแตกร้าว ภาษาช่างเรียกว่า “ตีน้ำเร็วไป”

เนื่องจากปูนฉาบที่ผนังแห้งตัวไปแล้ว และเกิดการแตกร้าว ที่ผนังปูนฉาบ แล้วจึงไปตีน้ำ การตีน้ำเพื่อ ขัดผิวหน้านี้ เนื้อปูนที่ผิวหน้าจะไม่ประสานเป็นเนื้อเดียวกับปูนฉาบ ชั้นปูนที่ผิวหน้าจะบางมาก ทำให้ เกิดการแตกร้าวที่ผิวหน้า เรียกการแตกร้าวแบบนี้ว่ามาจาก” การตีน้ำช้าไป”

การแก้ไข
รอให้ผิวหน้าปูนฉาบแห้งหมาดมากๆ (เล็บจิกเข้า) จึงเริ่มตีน้ำ

2. รอยแตกร้าวแบบรอยแตกตามแนวนอนเป็นชั้นๆ
สาเหตุ
ส่วนผสมเหลวแล้วปูนฉาบหนาเกินไป ทำให้ปูนฉาบเกิดการย้อยลงมา เนื่องจากน้ำหนักของปูนฉาบเอง การย้อยของปูนฉาบนี้จะทำให้เกิดรอยแตกร้าวดังกล่าว

การป้องกัน
อย่าผสมปูนเหลวเกินไป ถ้าต้องการฉาบปูนที่หนามากๆ ให้ฉาบปูนเป็นชั้น ๆ หนาชั้นละไม่เกิน 1 ซม

3.รอยแตกร้าวแบบรอยแตกเป็นรูปสามแฉก
สาเหตุ
เนื่องจากการราดน้ำที่ผนังไม่สม่ำเสมอ เปียกบ้างแห้งบ้าง เมื่อฉาบปูน ไปตรงผนังที่แห้งผนัง จะดูดน้ำ จากปูนฉาบทันที ทำให้ปูนฉาบสูญเสียน้ำไปอย่างรวดเร็ว ปูนฉาบจะแห้งและเกิดการหดตัว เกิดรอย แตกร้าวดังกล่าว ใส่ส่วนผสมผิด โดยใช้ปูนจืดแทนปูนเค็มเหลว

การป้องกัน
ราดน้ำให้สม่ำเสมอทั่วผนัง ใช้ส่วนผสมให้ถูกต้องตามขั้นตอน

รอยร้าวประเภทต่างๆ โดยอาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
1. รอยร้าวตามยาวใกล้ท้องคาน
รอยร้าวที่เป็นรอยยาวใกล้ท้องคานที่เป็น ค.ส.ล. อยู่ด้านล่าง เกือบจะติดกับท้องคานเลย เป็นเส้นยาว ต่อๆกัน หมายความว่าเหล็กในคานของเราที่เป็นเหล็กเสริมรับแรงดึงด้านล่า ง น่าจะเป็นสนิม หรือ ความหนาของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กด้านล่างอยู่มีความหนาน้อยเก ินไป (covering ไม่ถึง ๑ นิ้ว) ซึ่งมักจะ เกิดจากตอนเทคอนกรีตแล้วไม่ได้จัดลูกปูนให้ดี หรือช่างเดินบนเหล็กอย่างไม่บันยะบันยัง ความชื้น ก็จะผ่านเข้าไปถึงตัวเหล็กเส้น ทำให้เหล็กเป็นสนิมพองตัว แล้วก็มาทำให้คอนกรีตแตก

รอยร้าวแบบนี้จะทำให้คานของเรารับแรงดึงได้น้อยลง (รับน้ำหนักกดกลางคานได้น้อยลง) หากเป็น เล็กน้อย วิศวกรก็จะให้กระเทาะคอนกรีตออก ทำความสะอาดเหล็กแล้วก็เอา อีพ๊อกซี่ ฉาบเข้าไปแทน แต่หากเป็นมากเขาก็จะต้องเสริมโครงสร้างใหม่เข้าไปช่วย (โดยทำความสะอาดของเก่าก่อน แล้วเอา non shrink cement หรือซีเมนท์ที่ไม่หดตัวฉาบเข้าไป) หากอาการหนักมากๆ และอาจจะรุกลาม ไปที่อื่นต่อ ก็จะต้องตัดคานส่วนนี้ แล้วก็ทำใหม่ครับ

2. รอยร้าวที่กลางคาน
มีลักษณะเป็นรอยร้าวตามแนวตั้งฉากกับคาน อยู่บริเวณกลางคานเลย รอยร้าวมักจะเกิดขึ้นทั้งสามด้าน ของตัวคาน อาการแบบนี้แสดงว่า คานตัวนั้นรับนำหนักมากเกินไป คานเกิดอาการโก่งงอ (น้ำหนักทับข้าง บนที่ชั้นบน) อาจจะเกิดเพราะเราออกแบบเปลี่ยนวัสดุปูพื้นข้างบนให้หนักขึ้น หรือ ไปทำกำแพงทับให้เกิด line load หรือจัดวางของหนักๆไว้ตรงนั้น

การแก้ไข ก็คือต้องรีบเอาน้ำหนักออกก่อนที่เหล็กในคานจะ "คราก" เมื่อเอาน้ำหนักออกแล้ว ส่วนใหญ่ รอยร้าวตรงนี้จะกลับประสานกัน เหลือเป็นรอยเส้นเล็กนิดเดียว แต่หากเมื่อเอาน้ำหนัก ออกแล้ว รอยแตกไม่กลับมาเหมือนเดิม ก็ต้องวิ่งหาวิศวกรละครับ ....อย่าเอาเสาอะไรไปตู้ไว้เชียวนา พฤติกรรม ของแรงในคานจะเปลี่ยนไปหมด (ขออนุญาตไม่อธิบาย) อาคารอาจจะวิบัติได้เชียว

3. รอยร้าวเฉียงๆที่ผนังมุมซ้ายล่าง ไปมุมขวาบน
เห็นเป็นรอยเกิดขึ้นที่ผนังของอาคาร บางทีก็เป็นเส้นเดียวต่อกันใหญ่ๆเลย บางทีก็เป็นเพียงเส้นเล็กๆ หลายๆเส้นต่อกันเป็นแนว แต่สังเกตุ(แบบตาสถาปนิก) ได้ว่ารอยเหล่านี้จะต่อกันเป็นเส้นทะแยงมุม การเกิดรอยร้าวแบบนี้แสดงว่า โครงสร้างของอาคารเกิดการ "บิดตัว" เพราะเสาของอาคารอาจจะมีการ ทรุดตัวไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพของเสาเข็มเดิม หรือเราในฐานะของผู้ออกแบบปรับปรุงใหม่ ไม่ได้ศึกษาเรื่องการกระจายน้ำหนักของโครงสร้าง ไปทำให้เกิด Point & Zone Load

หากพบเห็นอาการแบบนี้ ถ้าใหญ่มากก็วิ่งไปหาวิศวกร หากเป็นรอยเล็กอย ู่ต้องตรวจสอบพฤติกรรม การทรุดบิดตัวต่อเนื่อง โดยการขีดเส้นและบันทึกวันที่เอาไว้ ตรวจสอบบ่อยๆ หากมีการขยายตัว (ทั้งกว้างหรือยาว) และเป็นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าอาคารมีอาการทรุดตัวไม่หยุดก็ต้องวิ่งไปปรึกษาวิศวกร

4. รอยร้าวที่หัวเสา
เป็นรอยร้าวที่อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งทีเดียว ลักษณะของรอยร้าว มักจะเป็นรอยเฉียงๆ ที่หัวเสาที่ต่อกับ คาน (ค.ส.ล.) อาการแบบนี้แสดงว่า เสาและคานตัวนั้นกำลังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ กำลังจะฉีกหล่น ลงมา ทำให้เกิดอาคารวิบัติสมบูรณ์ อาจจะเพราะเราเอาน้ำหนักใส่มากเกินไป หรือตัวสามีปัญหา หรือตัวเสาเข็มก็มีปัญหา ฯลฯ

การแก้ไขมี ๒ ทาง ทางแรก็คือวิ่งไปหาบริษัทประกันชีวิต ส่วนอีกทางเลือกก็คือรีบขนของออกจากบ้าน แล้วิ่งไปหาวิศวกร (ผู้ชำนาญ) เพื่อมาแก้ไขครับ ...อย่าพยายามทำอะไรเองเป็นอันขาด

5. รอยร้าวเฉียงๆที่มุมวงกบประตูหน้าต่าง
รอยร้าวแบบนี้ถ้าสถาปนิกไม่ทราบ เห็นจะต้องเอาตัวไปจุ่มน้ำ เพราะใครๆก็คงทราบว่า ปัญหามันอยู่ ที่การไม่มีเสาเอ็นหรือทับหลั ง เมื่อวงกบกับผนังอิฐมันขยายตัวไม่เท่ากันก็ต้องเกิดรอยร้าว บางครั้ง รอยร้าวเฉียงๆแบบนี้อาจจะไม่ได้เกิดจากเสาเอ็นทับหลังอ ย่างเดียวก็ได้ เพราะแม้จะทำเสา เอ็นทับ หลังทุกอย่างถูกต้อง ถ้าความหนาของปูนฉาบผนังอิฐและฉาบเสาเอ็นทับหลังหนาไม่เท่ากัน อาการ แบบนี้ ก็จะเกิดขึ้นได้ แต่มักจะเกิดเป็นเฉียงๆหลายรอยหน่อย แล้วก็ไม่ยาวยืดน่าเกลียดนัก

การแก้ไข (ที่ปลายเหตุ) ก็เอาอาร์คลิลิค อัดเข้าไป แล้วก็ทาสีทับ

6. ร้าวแตกระแหงเป็นชามสังคโลก
หรือที่เราเรียกกันว่าเป็นลักษณะของ "การแตกลายงา(ช้าง)" ซึ่งเข้าใจว่าอาคารเกือบทุกหลัง ก็จะเป็น เช่นนี้ เกิดจากคุณภาพของการก่ออิฐและฉาบปูน ที่อาจจะมีส่วนผสมผิดหรือเร่งเวลามากไป

วิธีการแก้ (ปลายเหตุ) ก็คือปล่อยให้รอยแตกนี้มันแตกจนพอใจสะใจ แล้วก็ทาสีใหม่ โดยบอกช่างสี ให้เขาเอา "ขี้สี" โป๊วเข้าไปก่อนทา หรือหากไม่มีขี้สี ก็เอาอาคลิลิคยาเข้าไปก่อนก็ได้ แล้วก็ทาสีใหม่ ให้เอี่ยมอ่อง .....เทคนิคเรื่องนี้ ก็คือต้องยอมให้น่าเกลียดสักพักก่อนที่จะแก้ไขนะ

7. รอยร้าวฝ้าเพดานใต้พื้นดาดฟ้า
มีปูนหลุดลงมาเห็นเหล็กเลย ปัญหานี้คล้ายกับปัญหาของข้อที่ ๑ เรื่องรอยร้าวบริเวณใกล้กับท้องคาน แต่มีเหตุเพิ่มขึ้นเพราะนอกจากจะมีปัญหาเรื่อง covering ปูนหนาไม่พอแล้ว ยังเกิดปัญหาจากการ รั่วซึมของพื้นดาดฟ้าอีกด้วย ทำให้เหล็กเป็นสนิมเร็วขึ้น และปูนก็เสื่อมสภาพเร็วขึ้น

การแก้ปัญหาแยกออกเป็น ๒ จุดคือ จุดแรกจะต้องพยายามไม่ให้มีน้ำขังที่ดาดฟ้า เพื่อป้องกันการรั่วซึม .ซึ่งห้ามเทคอนกรีตหรือปูนทรายทับลงไปที่พื้นดาดฟ้าอีกชั้นห นึ่งเด็ดขาด เพราะจะเป็นการเพิ่มน้ำหนัก dead load และเกิดอาการขนามสามชั้นเป็น sanwitch จะมีน้ำขังอยู่ระหว่างชั้น ของพื้นเดิม กับปูน ทรายใหม่ที่เราเททั บไป คราวนี้จะหาจุดที่มาของการรั่วซึมไม่เจอ เพราะเข้าทางหนึ่ง แต่อาจจะไปโผล่ อีกจุดหนึ่ง ....ต้องใช้ระบบกันซึมดีกว่า

จุดที่สองที่ต้องแก้ไขก็คือเรื่องของความปลอดภัย หากเป็นไม่มากวิศวกรท่านอาจจะใช้วิธีการเลาะคอนกรีตเดิมออก ขัดเหล็กและโป๊คอนกรีตหรือ Epoxy เข้าไป หากอาการหนักซ่อมแซมไม่ได้ ก็จะต้องทำโครงร้างใหม่มาช่วยรับ หรือทุบรื้อทำใหม่ครับ

8. มีรอยร้าวเพราะช่างไปใช้ฟองน้ำฉาบปูน
การฉาบปูนแบบดั้งเดิมที่มักจะคงทนมากกว่าการฉาบปูนอย่างปัจจุบั น เพราะช่างปูนเขาจะใช้วิธีการ "ปั่นแห้ง" คือใช้เกรียงไม้ค่อยๆลูบไล้ผิวปูนฉาบจนเนียนและแห้ง แต่ปัจจุบันช่างมักจะใช้ "ฟองน้ำ" ในการฉาบปูน หากช่างเอาฟองน้ำแห้งๆไล้ผิวปูน ฟองน้ำก็จะดูดซับน้ำซีเมนท์ แล้วช่างก็จะบีบน้ำออก ให้ฟองน้ำแห้ง ซึ่งน้ำที่บีบออกไปนั้นก็คือน้ำปูนนั่นเอง กว่าผนังที่ฉาบจะแห้งและเนียนตา ปูนฉาบ ของเราก็จะเหลือแต่ทราย(มีปูนเหลือนิดเดียว) พอแห้งได้ที่แล้วใช้บ้านไปพักหนึ่ง ก็จะเกิดอาการ แตกร้าว หรือหลุดร่วงลงมา เพราะไม่มีปูนช่วยเกาะผนังอิฐหรือคอนกรีตนั้นๆ

9. รอยร้าวมีนิดเดียว แต่พอจับแล้วทรายร่วงออกมาเยอะเลย
ผนังปูนฉาบบางแห่งช่างปูนใช้ส่วนผสมผิด หรือใช้ฟองน้ำผิดวิธี หรืออาจจะเพราะอาคาร นั้นมีอายุมา มากกว่า ๒๐ ปี ทำให้สภาพของปูนฉาบนั้นเสื่อมสภาพ หรือไม่อยู่ในสภาพที่สมควรจะเป็นปูนฉาบแล้ว เหลือแต่ทรายเป็นส่วนผสมหลัก

การแก้ไขก็คงต้องแก้ไขกันที่ต้นเหตุ คือเลาะปูนฉาบผนังตรงนั้นออก แล้วทำการฉาบใหม่เข้าไป การใช้น้ำยาเคมี หรือการปิดวอลล์เปเปอร์ ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก

10. ไม่มีรอยร้าวแต่ปูนฉาบหลุดออกมาเป็นแผ่นเลย
อาการนี้ถ้าเราเอามือเคาะ จะมีความรู้สึกว่าผนังนั้นเป็นโพรง เกิดจากการเกาะของผิวปูนฉาบ กับของผนังไม่ดี ยิ่งหากเป็นผนับหล่อคอนกรีต โอกาสจะเกิดปัญหาเช่นนี้มีมาก อาจจะเป็นเพราะตอนที่ จะฉาบปูนนั้นไม่มีการ "ตีน้ำ" ให้ผนังชุ่มเพียงพอ พอฉาบปูนเข้าไปผนังก็จะดูดน้ำปูนไปจนหมด ปูนฉาบก็ขาดสภาพที่ดี หรือผนังนั้นมีความมันมาก หรือมีคราบความสกปรกอยู่ปูนฉาบจึงไม่เกาะ หรือฉาบปูนหนาเกินไป ทำให้ขณะที่ปูนฉาบกำลังจะเซ็ทตัว มีความร้อนเกิดขึ้นที่ผิวในของปูนฉาบมาก ความร้อนพยายามจะพลุ่งออกมาข้างนอก เลยทำให้ปูนฉาบนั้นแห้งเร็วผิดปกติ

การแก้ไขก็น่าจะต้องดูแลที่ต้นเหตุ หรือหากยังไม่อยากแก้ก็ไม่เป็นไร รอดูไปเรื่อยๆ หากเมื่อไรปูนฉาบตั้งท่านจะหล่นลงมาทำอันตรายเรา ก็ต้องเลาะปูนฉาบนั้นออกแล้วก็ฉาบเข้าไปใหม่อย่างถูกวิธีละ

11. รอยร้าวใต้คาน เชิญฝนเข้าบ้าน
รอยร้าวแบบนี้จะเป็นเพียงรอยร่องเล็กๆ อยู่ระหว่างยอดของผนังกับท้องคาน เวลาฝนตกลงมา น้ำที่ไหลมาจากผนังข้างบนผ่านคานแล้วก็จะถูกดูดเข้าไปในตัวอาคา เกิดจากการก่อผนัง ที่เร่งร้อนมาก เกินไป เพราะปูนสอที่ก่ออิฐนั้นจะต้องมีการเซ็ทตัวแล้วก็ยุบตัว หากเราไม่รอเวลาจนปูนสอเซ็นตัว แล้วก็ฉาบปูนเข้าไปเลย เวลาปูนสอยุบตัวก็จะทำให้ผนังนั้นเตี้ยลงมาเล็กน้อยแต่ก็ทำให้เกิดร่องดังกล่าว

การแก้ไขที่ต้นเหตุอาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะต้องสกัดเป็นรอยโตๆ แล้วก็ก่ออิฐเข้าไปแล้วก็ฉาบปูนใหม่ น่าจะแก้ไขที่ปลายเหตุ (กรณีที่รอยร้าวไม่โตมาก) หากเป็นรอยเล็กๆๆก็ใชอาคลิลิคอุดเข้าไป หากรอย โตขึ้นนิดนึงก็ใช้ซิลิโคนอุด หากอยากจะให้สบายใจหนักเข้าไปอีกก็ทำหลบหรือปีก Flushing ที่คาน ไม่ให้น้ำไหลมาที่รอยนี้เลยก็ได้

12. รอยแตกร้าวข้างผนังตรงบรรจบกับเสา
หมายถึงรอยหรือรูระหว่างผนัง(ก่ออิฐ) กับเสาทั้งสองด้าน เป็นรอยตรงๆแนวตั้ง ซึ่งจะพาน้ำฝนเข้ามา ในบ้านเราเหมือนกับข้อ ๑๑ (รอยร้าวใต้คาน) สาเหตุก็เพราะผนังมีอาการขยับตัว การที่ผนังมีอาการ ขยับตัวก็อาจเพราะไม่มีเสาเอ็นที่ยันระหว่าพื ้นถึงพื้นเลย หรือไม่มีทับหลังจากเสาถึงเสาเลย และอาจ จะเกิดเพราะไม่ได้เสียบ "หนวดกุ้ง" ซึ่งเป็นเหล็กเส้นเล็กๆยาวประมาณ ๑ ฟุต เสียบในเสาแล้วยื่นมา ในผนังระยะทุก ๑ ฟุต ทำให้ผนังกับเสามีการขยับเล็กน้อยได้

การแก้ไขก็น่าจะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุเหมือนข้อ ๑๑ คือเอาซิลิโคนยิงอุดเสีย ยกเว้นแต่เป็นรอย ใหญ่มากและผนังมีอาการขยับตัวเล็กน้อย หากเป็นแบบนั้นก็อาจจะต้องสกัดผนังไปถึงเสาเอ็น(หากมี) แล้วก็ก่อฉาบใหม่

13. รอยร้าวที่กระเบื้องในห้องน้ำ
เป็นรอยร้าวที่เกิดเป็นแนวยาว หรือแนวขนนกเกิดขึ้นที่ผนังกระเบื้องห้องน้ำ มาจากหลายสาเหตุ สาเหตุแรกก็คล้ายกับข้อ ๑๑ คือปูนสอยุบตัวแล้วดึงกระเบื้องให้แตก (ส่วนใหญ่หากเกิดเพราะเหตุนี้ กระเบื้องจะปูแบบน้ำปูนหรือกาว มากกว่าการปูแบบซาละเปา) หรือสาเหตุอาจจะเกิดจาก ตอนก่อสร้าง ที่ช่างเดินท่อทั้งหลาย ทุบสกัดจนผนังสั่นสะเทือน เกิดโพรงระหว่างก้อนอิฐ พอติดกระเบื้องเสร็จ ก็พยายามเซ็ตตัวลง ก็เลยมาดึงกระเบื้องแตก หรืออาจจะเกิดจากการวางท่อน้ำร้อนฝังผนังตื้นเกินไป ทำให้ความร้อนจากท่อกระจายมาถึงกระเบื้องได้ กระเบื้อง(ซึ่งมักจะเย็น) ก็เลยเกิดอาการแตกร้าว

การแก้ไขต้องพิจารณาดูว่า แตกมากไหมหรือจะมีโอกาสหลุดไหม หรือเป็นร่องจนน้ำมีโอกาสซึมเข้าไป เป็นต้น หากเป็นเช่นนั้นก็คงจะต้องเลาะกระเบื้องออกแล้วปูเข้าไปใหม่ หากไม่น่าเกลียดมากนักและ ไม่มีเสียงเป็นโพรง ก็อาจจะทิ้งไว้ก็ได้

14. รอยร้าวที่พื้นหินขัด (แถมมีรอยเป็นจ้ำๆด้วย)
รอยร้าวแบบนี้คงเคยเห็นกันบ่อยมาก ปัญหาพื้นฐานมักจะเกิดจากการเทปูนหินขัดแล้ว ใจร้อนไปหน่อย รีบขัดหน้าหินแทนที่จะทิ้งไว้ให้ปูนเซ็ตตัวอย่างน้อย ๑๕ วัน พอเอาเครื่องขัดที่มีความสั่นสะเทือนสูง ไปขัดก่อนกำหนด ปูนก็เลยลดคุณภาพไปมีความแกร่งไม่พอ พอไม่นานก็เกิดรอยร้าว ยิ่งถ้าเร่งเอา wax ลงขัดหน้าเข้าไปตอนพื้นยังไม่แห้งสนิทจริง wax ก็จะไปปิดกั้นไม่ให้ความชื้นระเหยออกมา ก็จะเกิด อาการเป็นจ้ำๆ สวยเชียว

การแก้ไขก็คงไปคิดที่ปลายเหตุ (ตามเคย) เพราะการเลาะหินขัดทำใหม่เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็น wet process (กรณีที่ใช้อาคารแล้ว) ก็ต้องเอาความชื้นออกจากพื้นให้หมด แล้วขัดเงาพื้นใหม่ด้วยwax อย่างยอดเยี่ยมที่สุด ให้เงามากที่สุด เพื่อเอาแสงสะท้อนปกปิดรอย (illusion)

15. รอยร้าวที่หินขัดตามแนวคาน จากเสาถึงเสา
บางครั้งพื้นหินขัดไม่ได้แตกเป็นลายงาอย่างข้อที่ ๑๔ แต่จะแตกเป็นรอยยาว ตามแนวคานจากเสา ถึงเสาเลย อาการแบบนี้มักจะเกิดขึ้นเพราะไม่ได้เทหินขัดทีเดียวเต็มห้อง มีการหยุดเทตามแนวคานนั้น แล้วการเทต่อไม่เตรียมการไว้ดีพอจึงเกิดปัญหารอยต่อเป็นรอยร้าว หรืออาจจะเป็นเพราะ โครงสร้างพื้น เป็นพื้นสำเร็จ (ที่ไม่น่าจะเสียบ shear steel ถูกต้อง หรือไม่ได้เชื่อม side plate เอาไว้) พอมีอะไร สะเทือนเกิดขึ้น พื้นสำเร็จที่วางหัวท้ายไว้ที่บ่าคาน ก็เกิดอาการ "ดิ้น" เลยทำให้พื้นหินขัดเกิดรอยร้าว

การแก้ไขปัญหาก็คงเหมือนกับข้อที่ผ่านมา (ข้อ ๑๔) คือขัดให้มันวาว ยกเว้นแต่ว่ามีรอยร้าวกว้างใหญ่ จนพื้นสำเร็จอาจจะดิ้นหลุดจากบ่ าคาน (ไม่น่าจะเป็นไปได้) ค่อยต้องทำการอย่างอื่นแก้ไขต่อไป

16. รอยแตกเป็นแนวยาวที่กลางเสา
หากเป็นรอยร้าวแบบนี้ต้องตรวจก่อนว่าเป็นการร้าวที่ปูนฉาบหรือเ ปล่า อาจจะต้องเคาะตรงบริเวณนั้น แล้วก็ฟังเสียงดูว่าเป็นอย่างไร หากเป็นเสียงกลวงๆก็น่าจะเป็นเพราะปูนฉาบนั้นมีการล่อนตัวไม่ติ ดแน่น หากไม่ใช่ร้าวเพราะปูนฉาบก็เป็นเรื่องอันตรายทีเดียว เหตุอาจจะเกิดจากการหล่อและจี้ปูนไม่ดี หรือไม้แบบเป็นตะเข็บรั่ว หรืออาจจะเพราะเสาต้นนั้นมีพฤติกรรมการรับแรงที่ไม่ปกติ

การแก้ไขหากเป็นปูนฉาบก็คงไม่เป็นไร เอาโพลี่ยูริเทนหรืออคลิลิคยาแนวนั้น แล้วก็ทาสีทับ ก็เป็นอันจบพิธี (ยกเว้นแต่ปูนฉาบนั้นจะร่วงลงมาแล้ว ก็กระเทาะปูนฉาบออกแล้วก็ฉาบใหม่เข้าไป)

หากเป็นเพราะระบบโครงสร้างมีปัญหา ก็ต้องถามวิศวกรโครงสร้างท่าน ซึ่งวิศวกรอาจจะทำเพียงการอัด อีพ๊อกซี่เข้าไป หรืออาจจะต้องให้ดามให้รื้อโครงสร้างก็ได้

17. รอยแตกเล็กๆที่กลางเสา ขวางรอบเป็นวงแหวน
ต้องสำรวจก่อนว่าเสานั้นเอียงหรือเปล่า หากเสาเอียงก็น่าจะเกิดจากการรับน้ำหนักไม่ได้ดิ่ง ก็เลยเกิด รอยแบบนี้ หากเสาไม่เอียงจะเป็นเรื่องที่ตรวจสอบค่อนข้างยากมาก เพราะเสาโครงสร้างอาจจะเอียงอยู่ แต่ผู้รับเหมาใจดีท่าน "พอกปูน" และตกแต่งจนเสาที่ออกมาทางสถาปัตยกรรมนั้นตรง

การแก้ไข พยายามดูว่าเป็นเพราะปูนฉาบหรือเปล่า หากไม่เป็นปูนฉาบก็ต้องพิจารณาต่อว่ ารอยเล็กๆ นั้นมีขนาดเท่ากัน รอบเสาหรือไม่ หากขนาดเท่ากันอีก (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้) อาจจะต้องลองสกัดดู แล้วละครับว่า โครงสร้างที่แท้จริงคืออะไร หากสกัดแล้วเป็นแค่ปูนฉาบก็ฉาบปูนเข้าไปใหม่ หากสกัด แล้วเสาคอนกรีตโครงสร้างก็ร้าวด้วย คราวนี้ก็ต้องเชิญวิศวกรเขามาดูต่อดีกว่า

18. รอยร้าวที่พื้นกับคานชั้นล่าง
ที่บอกว่าเป็นชั้นล่างก็เพราะ ถ้าเป็นชั้นบนสงสัยจะเป็นอาการใกล้วิบัติแล้ว รอยร้าวแบบนี้จะปรากฎ เป็นแนวยาวแยกระหว่างพื้นกับคาน สาเหตุที่เกิดก็เพราะพื้นนั้นเป็น Slab on Ground เป็นพื้นวาง บนดินและถ่ายน้ำหนักลงที่พื้นดินโดยตรง ในขณะที่คานนั้นจะถ่ายน้ำหนักไปที่เสา แล้วก็ไปตอม่อ ไปฐานรากแล้วก็เสาเข็ม การทรุดตัวของคานจึงน้อยกว่าพื้น เมื่อมีการทรุดตัวไม่เท่ากัน ก็ต้องเกิด การแตกแยกเป็นธรรมดา

การแก้ไข ก็ต้องไปกันที่ปลายเหตุอีกแล้ว คือใช้วัสดุยาอัดเข้าไป เช่นยางมะตอย(อย่างดี) ซิลิโคน เป็นต้น แต่ต้องเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่นเพื่อไม่ให้โครงสร้างนั้นติดกัน

19. รอยร้าวที่พื้นชั้นล่าง ร้าวมากจะเทพื้นใหม่
ลักษณะจะเป็นรอยร้าวขนาดใหญ่ แล้วก็มีความชื้นเล็ดลอดเข้ามา เป็นที่น่ารำคาญ บางครั้งอาจจะทรุดตัว แยกออกจากกันเลย ส่วนใหญ่เขาก็มักจะเทคอนกรีตทับลงไป บางคนก็เอาทรายลงก่อน แล้วก็ค่อยเท คอนกรีต ปรากฎว่าคราวนี้ยิ่งไปกันใหญ่ ยิ่งอาจจะมีการร้าวหนักมากขึ้น หรือความชื้นก็ยิ่งขึ้นมามากขึ้น เพราะความชื้นที่เกิดจะสะสมในทรายที่มีพื้นคอนกรีตกันอยู่ทั้ง ๒ ด้าน (พื้นใหม่ และพื้นเก่า) จะวิ่งออกมาใหญ่เลย ....นับว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดไปแล้ว

การแก้ไข หากต้องการจะทำพื้นใหม่ "ต้องทุบพื้นเก่าออกเสมอ" และพื้นใหม่ที่จะทำนั้น "ต้องมีโครงสร้างเหมือนพื้นเดิม" ถ้าเป็นพื้นสำเร็จก็ต้องเปลี่ยนเป็นพื้นสำเร็จ ถ้าเป็นพื้นวางบนดิน ก็ต้องวางบนดิน แต่เป็นพื้นวางบนคานจะเปลี่ยนเป็นวางบนดินได้ แต่เปลี่ยนเป็นพื้นสำเร็จไม่ได้ (พฤติกรรมการรับแรงของคาน ๔ ตัว ๔ ด้าน จะเหลือเพียง ๒ ด้านเท่านั้น) หากเป็นพื้นวางบนดิน แล้วไม่อยากให้ทรุดมาก ก็อาจจะตอกเสาเข็มสั้นๆลงไปรับพื้นก็ได้ ...แต่ห้ามเชื่อมพื้นกับคานเด็ดขาด

20. ถนนร้าว จะเทคอนกรีตทับหนาเท่าไร
ถนนนั้นเป็น slab on ground แน่นอน (ถนนปกติ) การทรุดหรือแตกร้าวจึงเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากจะปรับผิว ปิดรอยร้าว หรือปรับระดับใหม่ ...."ห้ามเทคอนกรีตทับ" เพราะคอนกรีตที่เททับเข้าไป จะเป็นน้ำหนักมหาศาล (ประมาณ ๓๐๐ กิโลกรัม/ตารางเมตร) ก็จะยิ่งกดทับพื้นเดิม และพื้นเดิมก็จะ กดไปที่ sub base ทำให้บรรดาหินและทรายบดอัด และพื้นดินใต้ถนนที่เป็น sub base จะยิ่งทรุดตัว ลงไปอีก หากยิ่งเทคอนกรีตทับลงไปอีก ปฎิกริยาลูกโซ่ก็จะยิ่งเกิดขึ้นมากเข้าไปอีก

การงแก้ไข ก็คือ ต้องทุบถนนเดิมออก ปรับซับเบสให้แน่น (say 95% standard progter scale !!) แล้วค่อยเทคอนกรีตถนนใหม่

อาคารสุขภาพเสื่อม อาการจากรอยร้าว

1. รอยร้าว

1.1 อายุของอาคาร
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนว่าอาคารก็มีอายุใช้ งาน เหมือนรถยนต์หรือเครื่องใช้อื่นๆ เพียงแต่อายุใช้งานของอาคารอาจอยู่ได้นานถึง 30-50 ปี และอาจอยู่ได้ถึง 100 ปี ถ้ามีการบำรุงรักษา ดูแลที่ดีและสม่ำเสมอ แต่อย่างไรก็ตามอาคารที่มีอายุมาก ย่อมจะเสื่อมโทรมชำรุด เสียหาย เป็นธรรมดา การบำรุงรักษาซ่อมแซมอาคารจึงต้องมีควบคู่กับการใช้งาน ยิ่งอาคารที่มีอายุมาก ยิ่งต้องซ่อมแซมบำรุง รักษามาก กล่าวโดยคร่าวๆ ได้ว่า อาคารใหม่ๆ ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ควรเป็นใน 5 ปีแรก มักไม่ ใคร่มีความชำรุดเสื่อมโทรมมาก ยกเว้นแต่อาคารที่มีปัญหา ฐานรากไม่แข็งแรง จึงจะเกิดรอยร้าว อย่างมากในผนัง หรือเกิดการวิบัติพังทลายได้ในช่วงนี้ ในช่วงอายุ 5-10 ปี

อาคารเริ่มจะมีความชำรุดจากอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวัน อาทิเช่น หลอดไฟ ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตู เป็นต้น ในช่วงอายุ 10-20 ปี ระบบประกอบของอาคารอาจเริ่มมีปัญหา อาทิเช่น หลังคาอาคารอาจมีน้ำรั่วซึม ท่อน้ำประปาอาจรั่ว ท่อระบายเริ่มอุดตัน ผนังอิฐก่อฉาบปูนอาจเริ่มมีรอยแตกร้าวเล็กๆ และผนังส่วนที่ เปียกชื้นเป็นประจำเริ่มจะมีร่องรอยการก่อนที่ผิ วได้ สำหรับอาคารที่มีอายุเกิน 20 ปี ความชำรุด เสื่อมโทรมเริ่มจะมีมากขึ้น แม้กระทั่งโครงสร้างของอาคารก็อาจเริ่มมีปัญหาได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพ การก่อสร้างอาคารตั้งแต่เริ่มต้น

โดยหลักการแล้ว หากเจ้าของอาคารหมั่นดูแลบำรุงรักษา อาคารอาจใช้งานได้ถึง 50 ปี โดยมีการบูรณ ะซ่อมแซมใหญ่เพียง 1-2 ครั้ง สำหรับในประเทศที่เจริญแล้ว อาคารอาจมีอายุใช้งานถึง 100 ปี หรือมาก กว่านั้น แต่เขาก็มีการดูแลปรับปรุงเปลี่ยนระบบให้ทันสมัยเสมอ แต่สำหรับใน ประเทศไทยเนื่องจาก เราไม่ค่อยได้ควบคุมคุณภาพในขณะก่อสร้าง

1.2 ขนาดของรอยร้าว
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า รอยร้าวในคอนกรีตที่จะกล่าวถึงต่อไป หมายถึง รอยร้าวที่เกิดขึ้น ในเนื้อคอนกรีตจริงๆ ไม่ใช่รอยร้าวที่ผิวปูนฉาบ เพราะปกต ิที่ผิวหน้าของคานและเสาจะมี ปูนทรายฉาบ พอกอยู่ ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ประมาณครึ่งเซนติเมตร ถึง 2 หรือ 3 เซนติเมตร ปูนทรายฉาบ นั้นมีเพื่อ กลบแต่งผิวคอนกรีตให้เนียนเรียบสวย ฉะนั้นปูนทรายจึงมีความแข็งแรงไม่มากนัก และอาจเกิดการ แตกร้าวหรือหลุดร่อนออกจากเนื้อคอนกรีตได้ หลังจากการใช้งาน หรือโดนความร้อนสลับกับความเย็น หลายๆ ปี ฉะนั้นถ้าพบรอยร้าวในคานและเสา ก็อย่าเพิ่งตกใจ ขอให้สกัดชั้นปูนทราย เพื่อลอกออกมา ให้เห็นเนื้อคอนกรีตจริงๆ เสียก่อนแล้วจึงดูอีกครั้งว่า รอยร้าวนั้นมีอยู่ในเนื้อคอนกรีตจริงหรือไม่ นอกจากนี้ขนาดของรอยร้าวจะต้องมีขนาดรอยแยกกว้างกว่า 0.5 มิลลิเมตร หรือสามารถสอดไส้ดินสอกด ขนาด 0.5 เข้าไปในรอยแรกได้ ส่วนลักษณะและความยาวของรอยร้าวจะเป็นไปตามชนิดของรอยร้าว ดังจะกล่าวถึงต่อไป

รอยร้าวในคานที่ปรากฏให้เห็น จะมีรูปร่างได้ต่างๆ นานา สามารถแบ่งตามสาเหตุหลัก ของการแตกร้าว ได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ รอยร้าวเนื่องจากคานไม่สามารถรับแรงได้ และอีกประเภทเป็นรอยร้าว เนื่องจากคุณภาพ การก่อสร้างไม่ดี หรือเกิดการกัดกร่อน

2. รอยร้าวที่คานคอนกรีต
2.1 รอยร้าวในคานเนื่องจากคานไม่สามารถรับแรงได้ รอยร้าวนี้อาจเกิดเนื่องจากมีน้ำหนักบรรทุก หรือมีแรงเกิดขึ้นมากกว่าความสามารถในการรับแรงของคาน การแตกร้าวของคานประเภทนี้อาจทำให้ เกิดการวิบัติพังทลายของโครง สร้างได้ ซึ่งจำแนกตามสาเหตุได้ดัง

2.1.1 รอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัวต่างระดับของเสาหรือฐานราก
2.1.2 รอยร้าวเนื่องจากแรงดัดที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกิน
2.1.3 รอยร้าวเนื่องจากแรงเฉือนที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกเกิน
2.1.4 รอยร้าวเนื่องจากแรงบิด

2.2 รอยร้าวในคานเนื่องจากคุณภาพการก่อสร้างหรือการกัดกร่อน
คุณภาพการก่อสร้างที่ไม่ดีอาจจะทำให้อายุโครงสร้างสั้นลง และเกิดรอยร้าวได้หลากหลายประเภท แต่โครงสร้างมักจะไม่พังทลายหรือวิบัติในเวลาอันรวดเร็ว อาจใช้เวลาหลายปีกว่า จะเกิดความเสียหาย อย่างแท้จริง รอยร้าวประเภทนี้มักพบในอาคาร ซึ่งควบคุมการก่อสร้างไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคาร ในบริเวณแถบชายฝั่งทะเลจะพบมากขึ้น อันเนื่องจากไอน้ำเค็มจากทะเล จะทำให้คอนกรีตเสื่อมคุณภาพ เร็วขึ ้น และเหล็กก็เป็นสนิมเร็วขึ้นเช่นกัน
2.2.1 รอยร้าวเนื่องจากเหล็กเสริมเป็นสนิม

3. รอยแตกร้าวที่เสา
เสาเป็นโครงสร้างส่วนที่สำคัญมากของอาคาร เพราะเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของอาคาร เพื่อถ่ายลงสู่ฐานราก หรือพื้นดิน ถ้าเสาอาคารรับน้ำหนักเกินขีดความสามารถจะเกิดการพังทลายอย่างร วดเร็ว โดยมีสัญญาณเตือนภัยน้อยมาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง เสาจะเกิดรอยร้าวให้เห็นแล้ว ก็พังทลายใน เวลาอันรวดเร็วจนอาจจะเ ตรียมตัวหนีไม่ทัน ฉะนั้นถ้าพบรอยร้าวในเสาก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรย้าย ออกจากอาคารนั้นและหาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอาคารหลังนั้น มีการก่อสร้าง ต่อเติมเพิ่มจำ นวนชั้น

ด้วยเหตุที่เสาเป็นโครงสร้างที่สำคัญและมีสัญญาณเตือนภัยน้อยก่ อนการวิบัติ ในทางวิศวกรรมจึง ออกแบบให้เสามีส่วนเผื่อความปลอดภัย (Factor of Safety) ค่อนข้างสูง ทำให้คนทั่วไปคิดว่าอาคาร ห้องแถว 2-4 ชั้น สามารถต่อเติมเพิ่มชั้นได้ โดยไม่อันตรายหรือมีอันตรายน้อยกว่า การต่อเติมเพิ่มชั้น ในตึกสู งๆ เช่น ตึก 10 ชั้น 20 ชั้น แต่ความเป็นจริงแล้วการต่อเติมเพิ่มชั้นในห้องแถวเตี้ยๆ ขนาด 2-3 ชั้น จะอันตรายมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ห้องแถว 2 ชั้น ต่อเติมเป็น 3 ชั้น เท่ากับเป็นการบังคับ ให้เสาต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก 50% ในขณะที่การต่อเติมเพิ่ม 1 ชั้น ในตึก 10 ชั้น จะเพิ่มน้ำหนัก ในเสาเพียง 10% เท่านั้นตึกถล่มหลายๆ ครั้งในเมืองไทย มีสาเหตุหลัก มาจากการที่เสา ไม่สามารถ รับน้ำหนักอาคารทั้งหมดได้ ดูๆ ก็น่าเศร้าใจเพราะเสาเป็น เทคโนโลยีการก่อสร้างที่เก่าแก่มากและ เป็น เทคโนโลยีที่มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมา ตั้งแต่ยุคก่อนพุทธศักราช หรือคริสต์ศักราชเสียอีก สังเกตได้ จากวิหาร ปราสาทโบราณเก่าแก่อายุหลายพันปีหลายแห่ง ส่วนของหลังคา หรือคาน หรือพื้นอาจจะ พังทลายไปจนเกือบหมด แต่จะยังคงเห็นเพียงแต่เสาที่ยังยืนต้นเด่นเป็นสง่าให้เราชื่นช มอยู่เสมอเป็น หลักฐานบ่งบอกถึงความใหญ่โตมโหฬารของปราสาทวิหาร เสาอาคารจึงเป็นส่วนสุดท้ายที่จะพังทลาย

เสาเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่สุด เราสามารถใช้วัสดุเกือบทุกชนิดทำเป็นเสาได้ทั้งสิ้นตั้งแต่ไม้ อิฐ และแม้กระทั่งหิน คนโบราณได้ตัดหิน เอามาวางซ้อนๆ กันก็ใช้เป็นเสาได้ ดังที่เห็นในปราสาทหินทั่วไป รอยร้าวในเสาที่อาจพบเห็นได้ ก่อนการวิบัติทั้งหลายของเสา สามารถจำแนกตามสาเหตุหลักๆ ได้ดังนี้ อนึ่งเสาที่เกิดการแตกร้าว จริงอาจเกิดจากสาเหตุเดียวหรือหลายๆ สาเหตุรวมกันได้

3.1 รอยร้าวเนื่องจากการรับน้ำหนักไม่ไหว
3.2 รอยร้าวเนื่องจากเหล็กเป็นสนิม

4. รอยแตกร้าวที่พื้น
รอยแตกร้าวที่พื้นมักจะพบเห็นได้ง่ายและทำให้เจ้าของอาคารกังวล มากว่าอาคารของตนเอง จะทรุดพัง ทลายหรือไม่ โดยความเป็นจริงรอยแตกร้าวจำนวนมากเป็นเพียงรอยแตกร้าวที่ผิวขอ งวัสดุปูพื้น หรือวัสดุตกแต่งพื้น บทความนี้จะอธิบายถึงชนิดของรอยแตกร้าวที่พื้น ขอเน้นว่าเฉพาะ พื้นที่เป็น ลักษณะโครงสร้างเท่านั้น กล่าวคือ เป็นพื้นซึ่งมีคานรองรับไม่รวมถึงพื้นซึ่งวางบนดิน เช่น พื้นที่จอดรถ หรือพื้นอาคารชั้นล่าง ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นพื้นวางบนดินไม่มีโครงสร้างคาน หรือเสาเข็มรองรับอยู่ ซึ่งการเกิดรอยแตกในพื้นวางบนดินเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาต ิอยู่แล้ว

4.1 รอยร้าวที่ใต้ท้องพื้น
รอยร้าวที่เกิดใต้ท้องพื้นมักเป็นรอยร้าวที่บ่งบอกถึงความไม่มั ่นคงแข็งแรง ของพื้นซึ่งรอยร้าวจะ แตกต่างกันตามชนิดของพื้น รอยร้าวประเภทนี้ สังเกตได้ง่ายเพราะอยู่ใต้ท้องพื้น ซึ่งเป็นจุด ที่เห็น ได้ง่าย ยกเว้นกรณีที่มีฝ้าเพดานปิดไว้ รอยร้าวสำคัญที่บ่งบอกเป็นสัญญาณ ว่าพื้นเริ่มรับน้ำหนัก ไม่ไหวม ีดังนี้

4.1.1 พื้นคอนกรีตหล่อในที่
หากพื้นคอนกรีตหล่อในที่รับน้ำหนักมากจนเกินขีดความสามารถ ก่อนจะเกิดการวิบัติ จะมีรอยร้าว เตือนภัยที่บริเวณใต้ท้องพื้นเป ็นรอยแตกเป็นทางยาวบริเวณตอนกลางของพื้น

4.1.2 พื้นแผ่นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปท้องเรียบ
กรณีที่พื้นชนิดที่รับน้ำหนักเกินขีดความสามารถ จะเกิดรอยร้าวที่บริเวณกึ่งกลางใต้ท้องพื้น เป็นแนว ขวางกับแผ่นค อนกรีตสำเร็จรูป

4.2 รอยร้าวที่ผิวบนของพื้น
โดยหลักวิศวกรรมแล้ว เมื่อพื้นรับน้ำหนักไม่ไหวจะเกิดรอยร้าวที่ผิวบนก่อนการเกิดที่ ใต้ท้องพื้น แต่เนื่องจากพื้นด้านบนมักมีวัสดุตกแต่งปิดทับ อาทิเช่น กระเบื้อง พรม กระเบื้องยาง หินแกรนิต หินขัดหรือผิวปูนขัดมัน ทำให้มักไม่ใคร่เห็นรอยแตกร้าวเหล่านั้น ประกอบกับผิวด้านบนมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้เกิดรอยแตกร้าวได้ จึงไม่แนะนำให้นำรอยร้าวที่ผิวบน มาเป็นดัชนีตัววัดความ มั่นคงแข ็งแรงของอาคาร

4.2.1 รอยแตกร้าวทะแยงมุมในพื้นคอนกรีตหล่อในที่
กรณีที่เสาหรือฐานรากมีการทรุดตัวอย่างมาก อาจทำให้พื้นคอนกรีตหล่อ ในที่มีการแตกร้าวในแนว ทะแยงมุม ซึ่งจะพอเห็นได้เฉพาะพื้นซึ่งมีวัสดุปูผิวชนิดแข็ง เช่น ผิวปูนขัดมัน ผิวหินขัด หรือผิวกระเบื้องเซรามิก เป็นต้น

 
รับเหมาทาสี ทาสีบ้าน ทาสี ช่างทาสี ทุกเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสี
 
 
 
ข้อมูลในเว็บไซต์ไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์ สามารถ link เข้ามา หรือนำไปเผยแพร่ได้  
Copyright @2010-2020 nanapaint.com. All rights reserved
by Siam Painter Co., Ltd. Tel. 02-300-5118 LineID: @siampainter